วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

10 เทคนิคการถ่ายภาพที่ดี

1.มีกล้องติดตัวเสมอ
เพราะอะไรหรือ...ลองคิดดูครับหากคุณเจอภาพที่แบบว่าเกิดขึ้นอย่างฉับ
พลัน หรือ สิบปีมีหนหรือเกิดขึ้นเพียงชั่วอึดใจคุณจะเสียดายไปตลอดที่
คุณได้้พลาดโอกาสในการบันทึกภาพที่ยอดเยี่ยมเอาไว้ถ้าผมเป็นนักถ่าย
ภาพผมก็จะพกกล้องคู่ใจติดตัวไว้เสมอ แต่ไม่ใช่มาบอกว่า ปกติผมก็พก
อยู่ทุกวันแต่ทำไมรู้มั้ยครับ พวกนี้มันเอาไปแอบถ่ายใต้กระโปรงผู้หญิง
ตามสะพานลอยหรือไม่ก็ใต้โต๊ะกินข้าวกันไอ้พวกนี้เราขอยกเว้นพวกมัน
เอาไว้ฐานผิดกฏหมายที่สำคัญคุณต้องหัดฝึกติดกล้องเอาไว้ให้เป็นนิสัย
ไปเลย บางคนบอกว่ากล้องหนักแบกไม่ไหว ก็ให้ลองพกกล้องขนาดเล็ก
ไว้ก็ดี บอกแล้วเหตุการณ์ต่างๆมันเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่อึดใจ ดังรูป
ด้านซ้าย หากเจอพายุทอร์นาโดแบบนี้ คุณจะเก็บภาพมันมั้ยล่ะ


2. ใกล้ชิดสุดๆ
บางครั้ง เราอาจพบว่าภาพ Background ด้านหลังมันรกหูรกตาและ
ทุเรศ ก็ให้ใช้วิธี Zoom ภาพ เข้าไปใกล้เก็บรายละเอียดตัววัตถุที่ต้อง
การถ่ายให้เด่นชัดไปเลย ได้อารมณ์ดีกว่าเยอะ แต่ทั้งนี้คุณต้องเช็ค
กล้องถ่ายรูปของคุณก่อนนะครับ ไม่ใช่เอากล้องโหลยโท่ยมาซูม อาจจะได้ภาพไม่คมชัดเท่ากล้องระดับมืออาชีพก็เป็นได้ ต้องลองตรวจสอบคู่มือการใช้กล้องที่คุณซื้อมาให้ดี


3. เก็บภาพตอนคนกำลังวุ่นวาย
หากคุณใช้วิธีถ่ายภาพแบบเดิมๆ คือยืนหน้าตรงแล้วนับ 1..2..3 กดแชะ คิดภาพตามสิครับ มันไม่ต่างอะไรจากการยืนหน้าห้อยถ่ายรูปติดบัตร
ประชาชนหรอก ให้พยายามเก็บภาพคนแบบมีอารมณ์เคลื่อนไหว แสดงสีหน้าเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องให้คนโพสท่าแข็งเกินไปนัก ไม่งั้นจะได้ภาพที่ไม่ได้อารมณ์จริงๆ นี่ไม่ได้พูดเล่นแต่เป็น
ข้อแนะนำที่คุณควรเอาไปใช้ หัดแหวกแนวซะบ้าง อย่างในรูปด้าน
ข้างสังเกตใบหน้าของคู่นี้ ผ่อนคลายและได้อารมณ์สุดๆ


4. ใช้ Background พื้นๆช่วย
การใช้พื้น Background ที่มองดูธรรมดา จะช่วยเพิ่มความน่าสนในให้กับ
วัตถุที่คุณกำลังถ่าย ไม่ต้องไปหาอะไรมาเพิ่มเติมเสียให้วุ่นวายและไร้
สาระ เรียบๆนี่แหละมาตราฐานสากลนักแล เวลาถ่ายก็เคลื่อนกล้อง
เก็บภาพวัตถุและ Background ได้แบบในภาพด้านข้าง คลาสสิคแท้!!


5. ลองวางวัตถุไม่ต้องอยู่กลางภาพก็ได้นะ
ไม่ผิดอะไรหรอก หากคุณจะถ่ายภาพวัตถุให้อยู่ตรงกลางภาพไปเลย แต่บางทีมันเบสิคไปหน่อย บอกแล้วว่าเราต้องพยายามฉีกแนว ลองถ่ายให้มันอยู่ริมๆออกไปไม่ต้อง Center มากนัก
จัดองค์ประกอบให้เหมาะสม จะทำให้ภาพคุณมองดูเคลื่อน
ไหวได้และสร้างจุดสนใจแก่ดวงตาผู้ชม


6. เพิ่ม Foreground ให้ฉาก
เวลาถ่ายภาพอย่างภูมิประเทศ หรือ ภาพวิวที่งดงามเราควรจะหาวัตถ
ุที่ใช้เป็นภาพForeground ดูบ้าง เพราะจะทำให้ภาพแลดูเป็นมิติ มีความลึก มีระยะทาง ที่สำคัญทำให้ดูเหมือนว่าคุณก็มี Sense ในการถ่ายรูปที่ไม่ธรรมดา เช่นภาพด้านข้าง สังเกตจะมีแหของ
ชาวประมงเป็น Foreground ให้กับภาพ


7. การจัดแสงที่ดี
ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับนักถ่ายภาพเลยทีเดียว การจัดแสงให้ดีได้
จะเป็นการดึงเอาพลังของฟิล์มออกมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จะทำให้ภาพมีสัสัน น่าดึงดูด มีมิติ ทำให้วัตถุดูโดดเด่นและสวยงาม
เกินจริง แสงที่ดีที่สุดคือแสงจากดวงอาทิตย์นั่นเอง บางคนอาจจะมา
แหวกหน่อย คือชอบถ่ายโดยรอให้อากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน หรือ
อึมครึม เพื่อจะได้แสงที่ต่างออกไป อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบครับ


8. เวลาถ่ายรูปมือต้องนิ่ง
สำคัญอีกเช่นกันเพราะหลายรูปที่ถ่ายออกมาแล้วเสียเพราะมีการทรงตัว
ไม่ดีพอ เวลาถ่ายใจต้องนิ่งอย่างหวั่นไหวกับเหตุการณ์รอบข้าง
ไม่งั้นภาพที่ถ่ายจะไม่คมชัด และเบลอ คุณต้องฝึกเวลาคุณกด
ชัตเตอร์ให้ดีๆ กดเบาๆนุ่มๆ แต่เฉียบ หรือบางครั้งหากคุณมีขาตั้งกล้อง ก็ใช้มันก็ได้ครับ


9. ใช้ Flash ช่วย
คุณสามารถทำให้ภาพถ่ายดูดีขึ้น โดยใช้ Flash ช่วยมันจะทำให้ภาพดู
แข็งขึ้นแต่คมกว่า เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในร่ม หรือ สถานที่ที่
แสงน้อยเป็นต้น แต่บางครั้งการใช้ Flash ในการถ่ายนอกร่ม
จะทำให้ภาพดูนุ่มนวลและสว่าง


10. การเลือกใช้ฟิล์ม
ในบทความของ Kodak มาใช้ หากจะไม่แนะนำฟิล์มของ Kadak ก็คงจะน่าเกลียดเลยต้องแนะนำฟิล์มของเค้าหน่อย โดยส่วนใหญ่ที่คนนิยมกันจะเป็นฟิล์มความไวแสง 400, 200 และ 100 ราคาก็ตามจำนวนตัวเลขของความไวแสง ตัวเลขมากก็แพงกว่า แต่คุณภาพเหนือกว่า อย่างฟิล์ม
ความไวแค่ 100 คุณสามารถถ่ายได้กลางแดดที่มีแสงจ้า และแสงพอเพียง หากใช้ฟิล์ม 200 ก็สามารถถ่ายได้
ทั้งในร่มและนอกร่ม โดยอาจจะใช้ Flash ช่วย ส่วน 400 ก็ถ่ายได้แม้กระทั่งที่มืด โดยใช้ Flash ช่วยนะครับ ส่วนสีสันนี่ก็ดีกว่าฟิล์ม 100 และ 200

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น