วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ชื่อ นามสกุลแปลกๆ

สมศักดิ์ หวังกระแทกคาง
หวังนที จู๋ยืนยง
ณรงค์ นัดใช้ปืน
กันภัย สูญสิ้นภัย
ศักดิพันธ์ ชอบนอนหงาย

นารัตน์ พัดลม
พล.อ.การุณ เก่งระดมยิง
ลำเทียน จ้องผสมพันธุ์
มนศักดิ์ กางมุ้งคอย
ชาติหมา(ชา – ติ – หะ - มา) นามสกุลพระราชทาน

นลินี หน้าใหญ่
นาย ขี้ควาย
นส.สิริมา สิริไปล์
นส.สีแดง แสงดี
นามสกุล ฟักอยู่

ภาพวาดที่เหมือนภาฟถ่ายมากๆ









ป้ายแปลกๆในเมืองไทย

















วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สุนัขที่แพงที่สุดในโลก




เป็นสุนัขสายพันธุ์ ทิเบตัน มาสทิสส์
มีชื่อว่า Yangtze River Number Two
อายุ 18 เดือน
ความสูงจากพื้นถึงไหล่ 80 เซ็นติเมตร ราคาที่ซื้อ 4 ล้านหยวน ( 20 ล้านบาท ) มันเป็นสุนัขสายพันธุ์โบราณ
ถิ่นที่อยู่ บริเวณเอซียกลาง และอินเดีย มีชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า Do-khyi ซึ่งแปลว่า สุนัขที่ต้องถูกผูกไว้ เนื่องจากอุปนิสัยที่หวงถิ่นฐาน และดุร้าย จึงต้องผูกไว้เพื่อความปลอดภัยของบุคคลภายนอก ขนาดและน้ำหนักใหญ่ที่สุดที่เคยมีบันทึกไว้ สูงกว่า 80 เซ็นติเมตร หนักกว่า 110 กิโลกรัม ขนาดความสูงตัวมาตรฐาน 61 - 72 เซ็นติเมตร น้ำหนักตัวมาตรฐาน 45 - 72 กิโลกรัม
มีลักษณะขนสองชั้น และยาว เพื่อป้องกันความหนาวเย็น



มาร์โคโปโล( Marco Polo ) เคยบันทึกการพบเห็นสุนัขพันธุ์นี้ไว้ว่า " พวกมันสูงเท่าลา และมีเสียงดังดุจสิงโต "
พวกมันเป็น 1 ในสายพันธุ์สุนัข ที่ หายากที่สุดในโลก สายพันธุ์หนึ่ง คาดการว่ามีสายพันธุ์แท้หลงเหลืออยู่เพียง ประมาณ 100 ตัวเท่านั้น พวกมันเป็น 1 ในสายพันธุ์สุนัข ที่ ดุร้ายที่สุดในโลก สายพันธุ์หนึ่ง โดยชาวธิเบต กล่าวว่าพวกมัน ดุร้าย กล้าหาญ และแข็งแกร่งจนสามารถต่อสู้กับหมี หรือ เสือ ที่บุกเขามากินฝูงสัตว์ที่มันดูแลได้ทีเดียว พวกมันเป็น 1 ในสายพันธุ์สุนัข ที่ ตัวใหญ่ที่ในโลก สายพันธุ์หนึ่ง ด้วยส่วนสูงมากสุดกว่า 80 เซ็นติเมตร หนักกว่า 110 กิโลกรัม ด้วยทั้งหลายทั้งมวลนี้ทำให้ สุนัขสายพันธุ์ทิเบตัน มาสทิสส์ เป็น สุนัข ที่ แพงที่สุดในโลก ไปในโดยปริยาย

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความเป็นมาวันแม่


แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน พุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น

1. แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
- หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
- คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
- คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
*รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน*

2. ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก

3. ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
- เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
- ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว

ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ. 2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้านหรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว

สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุนซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง

ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทยเห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จะมีจังหวัดที่ 77 ของเมืองไทยจริงหรือ


มหาดไทย เตรียมชง ครม. ยกระดับ อ.บึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ 77
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ชี้แจงระหว่างการตอบกระทู้สดในสภาเรื่องการตั้งจังหวัดบึงพระกาฬ ว่า การเสนอตั้งจังหวัดบึงพระกาฬขณะนี้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมดแล้ว ในขณะที่ อีก 3 จังหวัดใหม่ไม่ผ่านเกณฑ์ คือ จ.แม่สอด ที่จะแยกมาจาก จ.ตาก จ.พระนารายณ์ที่จะแยกมาจาก จ.ลพบุรี จ.ฝางที่จะแยกมาจากจ.เชียงใหม่ ดังนั้นในส่วนของ จ.บึงกาฬ อยู่ในกระบวนการที่จะนำเข้าเสนอต่อที่ประชุมครม. นอกจากนี้ ยังจะมีการสอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องเงิน บุคลากร คือ สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และเมื่อครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบก็ต้องส่งเรื่องเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอเป็นกฎหมายพ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ต่อไป ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลจะผลักดันตามกฎหมายให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ สำหรับหลักเกณฑ์การตั้งจังหวัดใหม่ นั้นต้องเป็นไปตามมติครม. เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2524 คือ 1.ต้องมีไม่น้อยกว่า 8 อำเภอ 2. มีประชากรไม่น้อยกว่า 3 แสนคน 3. หน่วยงานราชการที่จะมาเป็นจังหวัดใหม่มีความพร้อมหรือไม่ โดยจ.หนองคาย มีพื้นที่ 17 อำเภอ ซึ่งมีการร้องจัดตั้งจ.บึงกาฬ จะมีการดึงออกมาจากจ.หนองคาย 8 อำเภอ ได้แก่ อ.บึงกาฬ อ.ปากคาด อ.โซ่พิสัย อ.พรเจริญ อ.เซกา อ.บึงโขงหลง อ.ศรีวิไล อำเภอบุ่งคล้า รวมประชากรทั้งหมด 3.9 แสนคน อย่างไรก็ตาม สำหรับความพร้อมของหน่วยงานราชการนั้น ที่ อ.บึงกาฬ มีพื้นที่ 791 ตารางกิโลเมตร ประชากรกว่า 80,000คน ซึ่งตอนนี้มีทั้งศาลจังหวัด อัยการจังหวัด เรือนจำ คลังอำเภอ และสาธารณูปโภคอื่นๆ ไฟฟ้า ประปา และที่สำคัญคือถ้าจะตั้งจังหวัดแผนงานงบประมาณเพียงพอหรือไม่ โดยที่อ.บึงกาฬ มีที่ดินเพียงพอในการสามารถสร้างศาลกลางจังหวัดได้ ไม่ต้องไปซื้อที่ดิน รมช.มหาดไทย กล่าวว่า สาระสำคัญที่สุดคือประชาชนในพื้นที่เห็นชอบที่จะตั้งจังหวัดใหม่หรือไม่ ซึ่งจากการสำรวจประชากรทั้ง 17 อำเภอ ในจ.หนองคาย ปรากฏว่า มีประชาชนเห็นด้วย 98.83% องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้ง126 แห่ง เห็นด้วย 96% หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ เและระดับจังหวัด เห็นด้วย 100% ด้าน นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ สส.สัดส่วน พรรคกิจสังคม ผู้กระทู้ถามสด เรื่อง การจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยระบุว่า อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ถือว่ามีความพร้อมที่จะจัดตั้งเป็นจังหวัดได้ ท้ังการมีหน่วยงานราชการสำคัญๆ ศาล เรือนจำ รวมถึงสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งประชาชนในพื้นที่ก็เห็นด้วย จึงอยากทราบหลักเกณฑ์การตั้งจังหวัดใหม่ และความคืบหน้า