วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเป็นการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจและความคิด ซึ่งผลของโรคกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่นการรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่รักษาอาการอาจจะอยู่เป็นเดือน

โรคซึมเศร้ามี 3 ชนิด คือ
1. Major depression ผู้ป่วยจะมีอาการ(ดังอาการข้างล่าง)ซึ่งจะรบกวนการทำงาน การรับประทานอาหาร การนอน การเรียน การทำงาน และอารมสุนทรีย์ อาการดังกล่าวจะเกิดเป็นครั้งๆแล้วหายไปแต่สามารถเกิดได้บ่อยๆ
2. dysthymia เป็นภาวะที่รุนแรงและเป็นเรื้อรังซึ่งจะทำให้คนสูญเสียความสามารถในการทำงานและความรู้สึกที่ดี
3. bipolar disorder หรือที่เรียกว่า manic-depressive illness ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เวลาซึมเศร้าจะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นช่วงอารมณ์ mania ผู้ป่วยจะพูดมาก กระฉับกระเฉงมากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานเหลือเฟือ ในช่วง mania จะมีผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรมผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากไม่รักษาภาวะนี้อาจจะกลายเป็นโรคจิต
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
1. พันธุ์กรรม พบว่าโรคซึมเศร้าชนิด bipolar disorder มักจะเป็นในครอบครัวและต้องมีสิ่งที่กระตุ้น เช่นความเครียด
2. มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองหรือสารเคมีในสมองการเปลี่ยนแปลงของสมดุลของสารเคมี ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง มีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้าของคน (โดยเฉพาะสารสีโรโทนิน นอร์เอปิเนพริม และโดปามีน)
3. ผู้ที่มองโลกในแง่ร้าย ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
4. โรคทางกายก็สามารถทำให้เกิดโรคซึมเศร้า เช่นโรคหัวใจ อัมพาต ทำให้ผู้ป่วยมาสนใจดูแลตัวเองโรคจะหายช้า
5. มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในเลือด เช่นวัยทอง หรือหลังคลอดก็สามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้า
6. ความเครียดที่เกิดจากสาเหตุต่างเช่น การสูญเสีย การเงิน การงาน ปัญหาในครอบครัวก็สามารถเป็นเหตุให้เกิดโรงซึมเศร้า
7. ผู้ที่เก็บกดไม่สามารถแสดงอารมณ์ออมา เช่นดีใจ เสียใจหรืออารมณ์โกรธ
8. ผู้ที่ด้อยทักษะต้องพึ่งพาผู้อื่น

ผู้หญิงจะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชาย 2 เท่าเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเช่น การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การแท้ง ภาวะหลังคลอด วัยทอง เป็นต้น นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดจากความเครียดที่ต้องรับผิดชอบทั้งในบ้านและงานนอกบ้าน การรักษาให้ญาติเข้าใจภาวะของผู้ป่วยและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย

การรักษา
1. การช้อคไฟฟ้า Electroconvulsive therapy (ECT) เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นรุนแรง หรือผู้ที่ไม่สามารถรับประทานยา๖นโทมนัส หรือใช้ยาแล้วไม่ได้ผล
2. การใช้ยาต้านโทมนัส ยาที่ใช้รักษามีด้วยกันหลายกลุ่มได้แก่
2.1 selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
2.2 tricyclics
2.3 monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) ผู้ที่รับประทานยากลุ่มนี้จะต้องระวังอาหารที่มีส่วนผสมของ tyramine ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตขึ้นสูง อาหารดังกล่าวได้แก่ cheeses, wines, pickles, ยาลดน้ำมูก แพทย์อาจจะเลือกใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งหรือใช้ยาหลายชนิดรวมกัน โดยมากจะเริ่มเห็นผลใน 2-3 สัปดาห์และให้รับประทานต่อไปประมาณ 1 เดือนยาจะออกฤทธิ์เต็มที่เมื่อรับยาไปแล้ว 8 สัปดาห์ ช่วงแรกของการรับประทานยาอาจจะเกิดผลข้างเคียงของยาก่อนจะเห็นผลดีให้รับประทานต่อ เมื่ออาการดีขึ้นอย่าเพิ่งหยุดยาจนกระทั่งไปทำงานได้โดยจะต้องรับประทาน 4-9 เดือน โดยแพทย์จะค่อยๆหยุดยาเพื่อให้ร่างกายปรับตัว.....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น