วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ไดโดเสาร์

ไดโนเสาร์ คืออะไร ในสมัยดึกดำบรรพ์มีจริงหรือไม่ สูญพันธุ์ ไปหมดแล้วจริงหรือ เราศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ได้อย่างไรและอีกหลากหลาย คำถามที่ต้องการค้นหาคำตอบ




คำว่าไดโนเสาร์ ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2384 โดยนาย ริชาร์ด โอเวนนักกายวิภาค วิทยา ชาวอังกฤษ ตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกสัตว์ชนิดหนึ่งที่ขุดพบในรูปของซากดึกดำบรรพ์ เป็น โครงกระดูกขนาดใหญ่ โดยนายริชาร์ด ใช้คำว่า ไดโนเสาร์เพราะมาจากภาษาอังกฤษว่า dinosaurs เป็นคำผสมจากภาษากรีก ว่า deinos ซึ่งแปลว่า น่าเกลียดน่ากลัว กับคำว่า sauros แปลว่า กิ้งก่า ดังนั้น ไดโนเสาร์ จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า กิ้งก่าที่น่าเกลียด น่ากลัว ซึ่งอาจจะน่ากลัวในสายตาของนายริชาร์ด และอาจจะไม่น่ากลัวเลยในสายตาของนักวิทยาศาสตร์บางคนความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์นั้น ส่วนใหญ่ได้มาจากซากดึกดำบรรพ์ที่เรียกตามศัพท์วิทยาศาสตร์ว่า ฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นฟอสซิลโครงกระดูก รอยเท้า เปลือกไข่ อุจจาระ ตลอดจนกลายสภาพเป็นหินแข็งอยู่ภายใต้ผิวโลก ครั้นเวลาผ่านไปเปลือกโลกมีการเคลื่อนตัว ซากฟอสซิลเหล่านี้จึงปรากฏบนพื้นผิวโลกให้เห็นตามที่ต่าง ๆ เป็นหลักฐานศึกษาการวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ได้เป็นอย่างดี ความจริงแล้วมนุษย์เคยค้นพบกระดูก และรอยเท้าไดโนเสาร์มาเป็นเวลานานแล้ว เพียง แต่ว่าผู้คนยุคต้น ๆ นั้น คิดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ของกิ้งก่า มังกรหรือแม้กระทั่งนกกาเหว่า ยักษ์ จนกระทั่ง นายริชาร์ด ได้ให้ความเห็นว่า โครงกระดูกของสัตว์เหล่านั้น เป็นของสัตว์ กลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงใกล้ชิดกับพวกกิ้งก่า แต่ไม่จัดเป็นพวกกิ้งก่า ซึ่งถ้าดูจากโครงสร้างของโครงกระดูกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พอจะแยกออกได้เป็น 7 ลักษณะ นักโบราณคดีและนักชีววิทยา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับไดโนเสาร์ไว้ว่า ถ้าแบ่งช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ในโลก จะแบ่งออก
ได้เป็น 3 ช่วง คือ

1. ช่วงไตรแอสสิก (Triaassic) เป็น
ช่วงแรกของการเกิดไดโนเสาร์ คือ
ประมาณ 250- 205 ล้านปีมาแล้ว

2. ช่วงจูราสสิก (Jurassic) เป็น
ช่วงที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ประมาณ
205-135 ล้านปีมา แล้ว ในช่วงนี้มีไดโนเสาร์หลากหลายชนิด ทั้งมีเขาไม่มีเขา มีเกราะ ไม่มีเกราะ คอยาว คอสั้น ตลอดจนวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์ปีก

3. ช่วงครีเตเชียส (Cretaceous)
เป็นช่วงที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ประมาณ
135-66 ล้านปีมาแล้วเป็นช่วงสุดท้าย
ของไดโนเสาร์ซึ่งจะมีวิวัฒนาการสูงสุด
และสูญพันธุ์ไปในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น